Saturday, December 8, 2012

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งปอดชนิด Non-small cell
ปอดเป็นอวัยวะที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซและหายใจ ดังรูป
ปัจจัยเสี่ยง
1. การสูบบุหรี่โดยตรง
2. การอยู่ร่วมกับผู้สูบบุหรี่

3. เคยสัมผัสรังสีทางหน้าอกหรือเต้านม

4. อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีมลภาวะทางอากาศ
อาการ
1. ไอเรื้อรัง
2. เจ็บหน้าอก

3. หายใจลำบากมีเสียงดัง (Wheezing)

4. ไอมีเลือดปนในเสมหะ

5. เสียงแหบ

6. เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย

การตรวจวินิจฉัย
1. ประวัติและการตรวจร่างกาย
2. เอ็กซเรย์ปอด (Chest film)
                     

3. เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
                     

4. การตรวจด้วยสารเภสัชรังสี (PET scan)
5. การส่องกล้องผ่านทางหลอดลม (Bronchoscope)
               
6. การเจาะชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัย (Fine needle biopsy)
                 
ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาและการพยากรณ์โรค
1. ระยะของโรคมะเร็ง
2. อายุที่เริ่มเป็น
3. สุขภาพของผู้ป่วย
มะเร็งสามารถกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ 3 วิธี
1. ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงโดยตรง
2. ผ่านทางกระแสเลือด
3. ผ่านทางระบบน้ำเหลือง
ระยะต่าง ๆ ของมะเร็งปอด ดังรูป
1. ระยะที่ 1 มะเร็งอยู่ในปอดมีขนาดน้อยกว่า 3 เซนติเมตร มีการลุกลามไปยังหลอดลมและเยื่อหุ้มปอดชั้นใน
     
2. ระยะที่ 2 มะเร็งอยู่ในปอดมีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 3 เซนติเมตร มีการลุกลามไปยังเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกและ
ผนังหน้าอก ต่อมน้ำเหลืองในช่องอก
     
3. ระยะที่ 3 มะเร็งขนาดต่าง ๆ มีการกระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองทรวงอกด้านตรงข้าม เยื่อหุ้มปอด หลอดลมคอ
           
4. ระยะที่ 4 มีการแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ ตับ ไต ต่อมหมวกไต สมอง กระดูก
           
การรักษา
1. การผ่าตัด มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับตำแหน่งและระยะของโรค ดังรูป
- ตัดปอดบางส่วน (Wedge resection)
- ตัดปอดทั้งกลีบ (Lobectomy)
- ตัดปอดทั้งข้าง (Pneumonectomy)
2. การรักษาด้วยรังสีรักษา
3. การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

ชุดภาพปอด(ปัพผาสัง-อาการ 32-โกฏฐาส)


เป็นที่ทราบกันดีว่า ปอด (ปพฺผาสํ / ปัพผาสัง) เป็น 1 ในโกฏฐาส 32 หรืออาการ 32
...

ภาพหลอดลมและปอด 
  • ปอด (ปัพผาสัง) คนเรารับอากาศ (ลม) จากหลอดลมใหญ่ที่แยกไปเข้าปอด 2 ข้าง ข้างขวามี 3 กลีบ ใหญ่กว่าข้างซ้ายที่มี 2 กลีบ
  • การพิจารณาความเป็นปฏิกูลของหลอดลมนั้น... หลอดลมเล็กๆ มีลักษณะความเป็นปฏิกูลคล้ายกับเอ็น (นหารู) หลอดลมใหญ่ตรงกลางมีความแข็งและหนา เนื่องจากมีกระดูกอ่อนเสริมความแข็งแรงอยู่ มีความเป็นปฏิกูลคล้ายกับพังผืด (กิโลมกัง)
...
ภาพปอดปกติจาก
...

ภาพปอด
  • ภาพมะเร็งปอดจากการสูบบุหรี่นานๆ > ก้อนเนื้องอกคือ ส่วนขาวๆ แข็งๆ ด้านบน ปอดปกติจะมีสีชมพู เนื่องจากปริมาตรปอดส่วนใหญ่เป็นลม (อากาศ) ส่วนน้อยเป็นเนื้อปอด (สีแดง)
  • เมื่อปอดแฟบลง คล้ายๆ ลูกโป่งที่แฟบลง > สัดส่วนลม (อากาศ) จะลดลง ทำให้เนื้อปอดมีสีแดงเข้มขึ้น
...
ภาพปอดจากคุณ
  • ภาพนี้แสดงปอดที่แฟบแล้ว เจ้าของปอดดูจะมีรูปร่างสูง สังเกตได้จากปอดจะยาวตามความสูง
  • ของที่ขดๆ กันอยู่ทางด้านล่าง-ขวาของภาพคือ "ลำไส้เล็ก (อันตัง / อนฺตํ / ไส้)
  • ส่วนอวัยวะสีแดงออกไปทางม่วงเล็กน้อยทางขวาของภาพคือ "ม้าม (ปิหกัง / ปิหกํ / ม้าม)
...
ภาพปอด
  • ปอดคนที่สูบบุหรี่นานๆ จะมีคราบน้ำมันดิน (tar) สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีปอดเสื่อมสภาพ เห็นเป็นแถบสีน้ำตาลคล้ำจนถึงสีดำ
  • พวกเราทดลองตรวจหาน้ำมันดินได้ โดยการพ่นควันบุหรี่ผ่านกระดาษทิชชูช้าๆ ทำซ้ำกันหลายๆ ครั้ง
...
ภาพปอด
  • ปอดคนที่สูบบุหรี่นานๆ จะมีคราบน้ำมันดิน (tar) สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีปอดเสื่อมสภาพ เห็นเป็นแถบสีน้ำตาลคล้ำจนถึงสีดำ
...
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                     
...
ศัพท์ที่น่าสนใจตอนนี้คือ 'lung' = ปอด
  • 'lung' > คำนาม (noun) > ออกเสียง [ ลัง ]
  • ฟังเสียงเจ้าของภาษา > คลิกเครื่องหมาย "ธงชาติ" หรือ "ลำโพง
...

ที่มา                                                     
  • Thank 
  • ข้อมูลในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค  ท่านผู้อ่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > สงวนลิขสิทธิ์บทความในบล็อก > ยินดีให้นำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพ หรือเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 19 ธันวาคม 2551.

โครงสร้างของระบบหายใจ


โครงสร้างของระบบหายใจ

   

ปอด (Lung)
          เป็นโครงสร้างหลักของระบบหายใจ อยู่ในส่วนของช่องอก เมื่อช่องอกขยายปอดก็ขยายตาม เปิดโอกาสให้อากาศไหลเข้ามาสู่ปอด เมื่อช่องอกหดแฟบลงปอดก็ถูกบีบ ขับอากาศออกไปสู่ภายนอก ปอดสามารถเคลื่อนไหวได้โดยแทบจะไม่มีแรงเสียดทาน (friction-free movement) ภายในช่องอก ทั้งนี้เพราะมีเนื้อเยื่อหุ้มปอด (pleura) ซึ่งเป็น smooth serous membrane ที่ห่อหุ้มปอด แบ่งออกเป็นส่วนที่เชื่อมติดกับปอดเรียกว่า visceral pleura และส่วนที่เชื่อมติดกับผนังช่องอกเรียกว่า parietal pleura

Elasticity of the lung and lung recoil
          ปอดจะมีการหดตัวกลับคืนเสมอ เมื่อมีการขยายของถุงลมปอด ทั้งนี้เนื่องจาก
     1. elastic fiber ของเนื้อเยื่อปอด
     2. surface tension ของถุงลมปอดเนื่องจากผนังด้านในของถุงลมปอดมีสารเรียกว่า surfactant เคลือบอยู่ ทำให้ภายในถุงลมมีแรงตึงผิว และแรงนี้จะคอยดึงให้ alveoli กลับคืนสู่สภาพที่แฟบที่สุด

บุหรี่กับโรคถุงลมโป่งพอง

(Cigarette And Pulmonary  Emphysema)
มีใครทราบบ้างว่า บุหรี่กับโรคถุงลมโป่งพองนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร.....แล้วโรคนี้มีอันตรายมากน้อยแค่ไหนต่อผู้ที่สูบบุหรี่ 
        

         คุณเชื่อมั้ย ว่าควันบุหรี่ 1 มวน ทำให้เกิดสารพิษได้หลายชนิด ซึ่งถือได้ว่าเป็นอันตรายต่อผู้ที่สูบบุหรี่และคนรอบข้างเป็นอย่างมาก ปัจจุบันคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่มาก โดยเฉพาะโรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งที่ปอด และโรคหัวใจ
เรามาทำความเข้าใจหน้าที่ของปอดก่อนดีกว่า

ปอด

โรคถุงลมโป่งพองเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับปอดโดยตรงฉะนั้นเราจึงจำเป็นที่ต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับปอดบ้าง
 ปอดเป็นอวัยวะที่สำคัญสำหรับการหายใจ ปอดมีรูปร่างใหญ่มี 2 ข้าง มีลักษณะยืดหยุ่นยืดได้หดได้ คล้ายฟองน้ำ  เมื่อ เราหายใจเข้าอากาศจะผ่านเข้าร่างกายทางจมูกหรือปาก ท่อทางเดินหายใจ หลอดลมใหญ่ซึ่งจะแยกเข้าปอดทั้งซีกซ้ายและซีกขวา และมีหลอดลมเล็กๆนำอากาศเข้าสู่ทั่วปอด ในส่วนปลายของหลอดลมเล็กจะมีถุงเล็กๆซึ่งมีจำนวนมาก เรียกว่าถุงลมปอด  ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นส่วนแลกเปลี่ยนแก๊สจากกระแสเลือดของร่างกายโดยดูดซึม เอาแก๊สออกซิเจนเข้าทางกระแสเลือดและนำไปใช้ทั่วร่างกาย และ ขับเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียออกจากร่างกาย ดังนั้นการแลกเปลี่ยนแก๊ส จึงเป็นกลไกของระบบหายใจ ซึ่งจะช่วยให้มีภาวะสมดุลกรด-ด่างของร่างกาย  เมื่อถุงลมปอดเกิดการอักเสบ เนื่องจากสารพิษต่าง ๆ ที่มาจากควันบุหรี่เข้าไปอยู่ในปอดมาก ๆ  ทำให้ถุงลมอักเสบ แตกเปราะ และฉีกขาดมารวมเป็นถุงลมขนาดใหญ่ขึ้น จำนวนถุงลมก็น้อยลง ไม่สามารถที่จะฟอกเลือดได้ปกติ ทำให้ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จนเป็นโรคถุงลมโป่งพอง  คนที่ป่วยเป็นโรคนี้ในระยะสุดท้ายจะทรมานรุนแรงเป็นอย่างมาก  การเป็นโรคนี้นั้นจะเป็นช้าหรือเป็นเร็วขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่สูบและอาจจะ รวมถึงกรรมพันธ์ด้วย
อาการของโรคถุงลมโป่งพอง  
ใน ระยะแรก ๆ ของอาการจะมีอาการแบบทั่วไป คือ มีไข้ ไอเล็กน้อย  มีเสมหะ  เป็นหวัด เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ และต่อมาก็จะหอบเหนื่อยง่าย เนื่องจากร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หายใจมีเสียงหวีด ๆ หายใจลำบากมากขึ้น หลอดลมตีบขึ้นและในช่วงระยะสุดท้ายที่ผู้ป่วยเป็นมาก ๆ ก็จะทำอะไรไม่ได้เลย ไม่ว่าจะทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันก็ตาม ร่างกาย จะเหนื่อยหอบมาก  ต้องได้รับออกซิเจนช่วยตลอดเวลา เนื่องจากปอดถูกทำลายหมด และการให้ออกซิเจนก็ต้องให้ด้วยความระมัดระวังกว่าปกติ เพราะหากให้ออกซิเจนในปริมาณสูงอาจทำให้ผู้ป่วยหยุด หายใจได้ หากผู้ป่วยหอบเหนื่อยมากๆ จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งเป็นที่ทรมานแก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก วิธีการรักษา
  1. ผู้ป่วยต้องหยุดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงอยู่ในที่ที่ทำให้ระคายเคืองต่อระบบ ทางเกินหายใจ เช่น  ที่อับที่ชื้น ที่มีมลพิษเยอะ ซึ่งจะทำให้สภาพปอดดีขึ้นหรือทุเลาลง
  2. ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอเบา ๆ  ทำจิตใจให้สดชื่น เบิกบาน  ไม่เครียด
  3. ดื่มน้ำสะอาดเยอะ ๆ
  4. ฝึกหายใจเข้า-ออก อย่างช้า ๆ
  5. ไปหาหมอทุกครั้งที่มีการนัด
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้เมื่อหยุดสูบบุหรี่แล้วก็ ไม่ใช่ว่าจะหายขาดจากโรคนี้ ต้องดูด้วยว่าสภาพปอดถูกทำลายมากน้อยเพียงใด  ถ้าเลิกสูบบุหรี่ร่างกายจะเหนื่อยยากขึ้น  เป็นหอบได้น้อยลง ถือได้ว่าเป็นผลดีต่อตัวเอง แต่ถ้าไม่เลิกสูบบุหรี่อีกก็ร่างกายก็จะเหนื่อยหอบอีกและอาจร้ายแรงถึงขั้น เสียชีวิตได้ และในผู้ที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง จะมีโอกาสเป็นปอดบวมรวมทั้งโรคแทรกซ้อนสูงกว่าและอาการหนักกว่าผู้สูงอายุ ทั่วๆไปที่ไม่สูบบุหรี่

   คุณทราบหรือไม่ว่าในบุหรี่มีสารพิษอะไรบ้าง...
สารพิษที่อยู่ในบุหรี่มีมากมาย เช่น   
ทาร มีลักษณะเป็นละอองเหนียว  สีน้ำตาลหรือน้ำมันดิน  ทาร์จะจับตัวอยู่ที่ปอด  ทำให้เยื่อบุหลอดลมอักเสบ
สารนิโครติน  เป็นสารคล้ายน้ำมัน ไม่มีสี เป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติดได้ง่าย  ส่วนใหญ่จะไปจับกันที่ปอดและบางส่วนก็ถูกซึมเข้าไปในกระแสเลือด
ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซค์  นอกจากจะเกิดจากท่อไอเสียของยานพาหนะแล้วยังมาจากควันบุหรี่อีกดวย   เมื่อรับก๊าซชนิดนี้เข้าไปมาก ๆ จะทำให้ปอดต้องทำงานอย่างหนักกว่าปกติ
สารอะเชตตาดีไฮด์  ก่อให้เกิดการระคายเคืองเรื้อรัง
จะเห็นได้ว่าสารพิษที่มีอยู่ในบุหรี่มี อันตรายร้ายแรงกว่าที่เราคิดจริง ๆ มันส่งผลอันตรายต่อตัวเองอย่างไม่น่าเชื่อ   กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานว่าแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ แล้วเป็นมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง จำนวน 52,000 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน โดยการสูบบุหรี่นั้นทำให้เสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติทั่วไป 20 เท่า, โรคถุงลมโป่งพอง 10 เท่า,โรคหัวใจ 3 เท่า ขณะที่เด็ก นักเรียนที่สูบจะทำให้สมองทึบ การเรียนไม่ดีถึง 20% ของผู้สูบทั้งหมด  ปัจจุบันมีคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่มากและคาดว่าจะมากขึ้นเรื่อย ๆ อีก หากยังมีคนสูบบุหรี่เยอะอย่างนี้ เห็นมั้ยว่าบุหรี่มวนเดียวสามารถคร่าชีวิตคนได้เป็นหมื่น ๆ คน ไม่ใช่แต่ตัวคนสูบเท่านั้นที่เสี่ยงอันตรายแต่รวมทั้งคนรอบข้างอีกด้วย  ถ้าคุณและคนที่คุณรักไม่อยากเป็นโรคถุงลมโป่งพองแล้วหละก็ ลด ละ เลิกสูบบุหรี่กันดีกว่า... อ้างอิง

www.baanjomyut.com
www.Bangkokhealth.com
www.pantasiam.com

...โครงสร้างของปอด



.....โครงสร้างของปอด
............
ปอด ของผู้ใหญ่หนักประมาณ 1 กิโลกรัม ลักษณะคล้ายฟองน้ำ เมื่อแรกเกิดปอดจะมีสีชมพูเหมือนดอกกุหลาบ ต่อมาจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีดำ ปอดจะถูกหุ้มด้วยเยื่อหุ้มปอดที่มีลักษณะชุ่มชื้น มันจะพองเต็มช่องอกอยู่ตลอดเวลา จึงมีรูปคล้ายกับรูปร่างของช่องอก
ปอดข้างขวาจะแบ่งออกเป็น 3 ยวง ข้างซ้าย 2 ยวง
............ในปอดผู้ใหญ่ ถ้านับจำนวนพื้นที่ของถุงลม (ซึ่งทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนอากาศดีกับอากาศเสีย) รวมๆ กันแล้วจะมีถึง 70 ตารางเมตร นับเป็นจำนวนที่มากกว่าพื้นที่ของผิวหนังถึง 40 เท่า
............1. ความจุปอด (Lung Capacity)
................ความ จุปอด หมายถึง ความสามารถของปอด ที่จะรับปริมาณของอากาศเข้าสู่ปอดหรือระบายอากาศออกจากปอด ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของการหายใจ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
................- ปริมาณของอากาศขณะที่หายใจเข้าออกตามปกติ (Tidal volume, TV) มีปริมาณ 500 มิลลิลิตร
................- ปริมาณ ของอากาศที่หายใจเข้าเต็มที่ ลบด้วยปริมาณของอากาศที่หายใจเข้าออกตามปกติ (Inspiratory reserve volume, IRV) มีปริมาณ 2,500 มิลลิลิตร
................- ปริมาณ ของอากาศที่หายใจออกเต็มที่ ลบด้วยปริมาณของอากาศที่หายใจเข้าออกตามปกติ (Expiratory reserve volume, ERV) มีปริมาณ 1,000 มิลลิลิตร
................- ปริมาณของอากาศที่เหลืออยู่ในปอด หลังจากหายใจออกอย่างเต็มที่แล้ว (Residual volume, RV) มีปริมาณ 1,500 มิลลิลิตร
................- ปริมาณของอากาศที่หายใจเข้าเต็มที่หลังจากการหายใจออกอย่างเต็มที่ (Vital capacity, VC) มีปริมาณ 4,500 มิลลิลิตร
................- ปริมาณของอากาศที่หายใจเข้าเต็มที่ หลังจากหายใจออกตามปกติ (Inspiratory capacity ; IC) มีปริมาณ 3,000 มิลลิลิตร
................- ปริมาณของอากาศในปอดหลังจากหายใจเข้าเต็มที่ (Total lung capacity, TLC) มีปริมาณ 6,000 มิลลิลิตร
................- ปริมาณของอากาศที่เหลืออยู่ในปอด หลังจากการหายใจออกตามปกติ (Functional reaidual capacity, FRC) มีปริมาณ 2,500 มิลลิลิตร
................- ปริมาณของอากาศที่ไม่ได้เข้าไปในถุงลมในปอด (Dead apace) คือ อากาศที่ค้างอยู่ตามจมูก หลอดลม ก้านปอด มีปริมาณ 150 มิลลิลิตร
........2. ปริมาณของอากาศที่หายใจ (Minute Volume or Pulmonary Ventilation)
...............ปกติ แล้วการหายใจเข้าออกเราจะวัดปริมาตรเป็นอัตราต่อนาทีในขณะที่ร่างกายพัก จะมีปริมาณของอากาศที่หายใจ ประมาณ 5 – 8 ลิตรต่อนาที โดยการหายใจนาทีละประมาณ 12 – 20 ครั้ง แต่ขณะที่ออกกำลังกายหรือทำงานหนัก ปริมาณจะเพิ่มขึ้นถึง 130 ลิตรต่อนาทีในเพศหญิง และ 180 ลิตรต่อนาทีในเพศชาย ส่วนนักกีฬาที่ได้รับการฝึกอย่างดี ขณะออกกำลังกายหนัก ๆ อาจจะมีปริมาณของอากาศที่หายใจถึง 200 ลิตรต่อนาที และอัตราการหายใจจะเพิ่มขึ้นถึง 50 – 60 ครั้งต่อนาที

...........3. การแลกเปลี่ยนก๊าซภายในปอด
...............การ แลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างถุงลมในปอดกับเลือด ซึ่งอยู่ในเส้นเลือดฝอยรอบ ๆ ถุงลมในปอด เป็นไปตามกฎของการแพร่กระจาย คือก๊าซที่มีความดันมากจะแพร่ไปสู่ที่มีความดันน้อยกว่า การหาความดันของก๊าซแต่ละชนิดคิดตามร้อยละของส่วนผสมของก๊าซแต่ละชนิดใน บรรยากาศ ซึ่งเป็นตามกฎของดัลตัน (Dalton’s Law) เมื่อบรรยากาศในความดัน 760 มิลลิเมตร



ปอด LUNG

ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม
     ระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน
     หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ