Sunday, October 28, 2012

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบหายใจ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบหายใจ

การหายใจเป็นเครื่องหมายบ่งบอกการมีชีวิตของบุคคล
ซึ่งเป็นกระบวนการในการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป
ทำไมร่างกายจึงต้องการออกซิเจน
ร่างกายต้องการออกซิเจน เพื่อการเจริญเติบโต การย่อยสลายสารอาหาร และกระบวนการเมตาบอลิซึม
ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างและสลายพลังงาน ถ้าร่างกายไม่มีออกซิเจน
เซลล์จะไม่สามารถทำหน้าที่และตายได้ ผลผลิตของกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์
คือ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะถูกขับออกจากร่างกายโดยการหายใจออก
ถ้าคาร์บอนไดออกไซด์ไม่สามารถถูกขับออกจากร่างกายได้และมีปริมาณสูงในเลือด
จะทำให้เซลล์ของร่างกายไม่สามารถทำหน้าที่ได้





img64_6
โครงสร้างของระบบหายใจประกอบด้วย
      1. ทางเดินหายใจส่วนต้น เริ่มตั้งแต่รูจมูกถึงสายเสียง
        หน้าที่
        1.ปรับความชื้นและความอบอุ่นแก่อากาศที่หายใจเข้าให้เหมาะสมกับอุณหภูมิร่างกาย
        2.กรองสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรค โดยใช้ขนกวัด
        3.เป็นทางนำอากาศเข้าสู่ร่างกาย รับกลิ่น และทำให้เกิดเสียงพูด
        4.โพรงไซนัส ทำหน้าที่ปรับเสียงพูดให้ก้องกังวาน

      2. ทางเดินหายใจส่วนปลาย เริ่มตั้งแต่สายเสียงถึงปอด
        หน้าที่
        1.เป็นทางลำเลียงอากาศ
        2.การแลกเปลี่ยนก๊าซ

IDevice Icon ภายในรูจมูกและโพรงจมูกจะมีขนเล็กๆ และเมือกทำหน้าที่กรองฝุ่นละอองหรือสิ่งแปลกปลอมแล้วกำจัดออกทางลำคอ
Show  Image
 
Show  Image
 
Show  Image
 
Show  Image
 
img68_6
อากาศที่ผ่านทางจมูกจะเข้าสู่หลอดลมใหญ่และหลอดลมเล็กแยกเข้าสู่ขั้วปอดซ้ายขวา
โดยหลอดลมด้านขวาสั้นกว่าด้านซ้าย ทำให้เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
ตกลงไปหลอดลมด้านขวามากกว่าด้านซ้าย
ดังนั้นจึงพบว่าปอดด้านขวามักเกิดการติดเชื้อมากกว่าปอดด้านซ้าย
img71_6
ปอดอยู่ในช่องทรวงอก มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ แบ่งเป็นปอดขวาและปอดซ้าย
โดยปอดขวามี 3 กลีบ และปอดซ้ายมี 2 กลีบแต่ละกลีบจะประกอบด้วยกลีบเล็กๆ หลายกลีบ
ปอดแต่ละข้างหุ้มด้วยเยื่อหุ้มบางๆ สองชั้น
โดยเยื่อชั้นในยึดติดกับเนื้อปอดและเยื่อชั้นนอกยึดติดกับผนังทรวงอก
ช่องว่างระหว่างเยื่อทั้งสองชั้นเรียกว่า ช่องเยื่อหุ้มปอด
ซึ่งภายในมีของเหลวใสเคลือบอยู่ ประมาณ 2 – 5 ซีซี
ความดันอากาศในช่องเยื่อหุ้มปอดนี้จะเป็นต่ำกว่าบรรยากาศเสมอ
ทั้งในขณะหายใจเข้าและหายใจออก 
img69_6
ปอดแต่ละกลีบประกอบด้วยปอดกลีบเล็กๆ หลายกลีบ
แต่ละกลีบเล็กๆ ประกอบด้วย แขนงของหลอดลมฝอย 1 อัน และถุงลมหลายๆ อัน
บริเวณถุงลมจะมีหลอดเลือดฝอยกระจายอยู่ทั่วๆ ไป
หลอดเลือดฝอยเหล่านี้จะรับเลือดดำจากหัวใจ
และเลือดดำจะรับออกซิเจนจากถุงลมเปลี่ยนเป็นเลือดแดง
เลือดแดงจะไหลออกจากปอดกลับเข้าสู่หัวใจและไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ระบบหายใจ

ระบบหายใจ




ระบบหายใจ
     มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้
     1.จมูก (Nose)
     จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย
     2. หลอดคอ (Pharynx)
     เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 " หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกธัยรอยด์ ที่เราเรียกว่า "ลูกกระเดือก" ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง
     3. หลอดเสียง (Larynx)
     เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติยโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย
     4. หลอดลม (Trachea)
     เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์
     5. ปอด (Lung)
     ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม
     ระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน
     หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ
     6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
     เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด



กระบวนการในการหายใจ
     ในการหายใจนั้นมีโครงกระดูกส่วนอกและ กล้ามเนื้อบริเวณอกเป็นตัวช่วยขณะหายใจเข้า กล้าม เนื้อหลายมัดหดตัวทำให้ทรวงอกขยายออกไปข้างหน้า และยกขึ้นบน ในเวลาเดียวกันกะบังลมจะลดต่ำลง การกระทำทั้งสองอย่างนี้ทำให้โพรงของทรวงอกขยาย ใหญ่มากขึ้น เมื่อกล้ามเนึ้อหยุดทำงานและหย่อนตัวลง ทรวงอกยุบลงและความดันในช่องท้องจะดันกะบังลม กลับขึ้นมาอยู่ในลักษณะเดิม กระบวนการเข่นนี้ทำให้ ความดันในปอดเพิ่มขึ้น เมื่อความดันในปอดเพิ่มขึ้นสูง กว่าความดันของบรรยากาศ อากาศจะถูกดันออกจาก ปอด ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ปัจจัยประการแรกที่ทำให้ อากาศมีการเคลื่อนไหวเข้าออกจากปอดได้นั้น เกิด จากความดันที่แตกต่างกันนั่นเอง
การแลกเปลี่ยนก๊าซและการใช้ออกซิเจน
     เมื่อเราหายใจเข้า อากาศภายนอกเข้าสู่อวัยวะ ของระบบหายใจไปยังถุงลมในปอด ที่ผนังของถุงลมมีหลอดเลือดแดงฝอยติดอยู่ ดังนั้นอากาศจึงมีโอกาสใกล้ชิดกับเม็ดเลือดแดงมากออกชิเจนก็จะผ่านผนังนี้เข้าสู่เม็ดเลือดแดง และคาร์บอนไดออกไชด์ก็จะออกจากเม็ดเลือดผ่านผนังออกมาสู่ถุงลม ปกติในอากาศมีออกชิเจนร้อยละ 20 แต่อากาศที่เราหายใจมีออกขิเจนร้อยละ 13
                                                         

 
กระบวนการหายใจ การหายใจเข้าและหายใจออก
 
          
การหายใจเข้าและหายใจออก    
     การหายใจเข้าและหายใจออกเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลมและกล้ามยึดกระดูกซี่โครง

                การหายใจเข้า   กล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวและกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงดึงกระดูกซี่โครงให้ยกตัวขึ้น ปริมาตรของช่องอกที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความดัน ในช่องอกลดลง ส่งผลให้อากาศจากภายนอกเคลื่อนที่เข้าสู่ปอด
                การหายใจออก  กล้ามเนื้อกะบังลมคลายตัวจะยกตัวสูงขึ้น เป็นจังหวะเดียวกับกระดูกซี่โครงลดต่ำลง ทำให้ปริมาตรในช่องอกลดลง ความดัน เพิ่มขึ้น มากกว่าความดันของอากาศภายนอก อากาศจึงเคลื่อนที่ออกจากปอด
แผนภูมิแสดงสัดส่วนของแก๊สชนิดต่าง ๆ ในลมหายใจเข้าและออก        
 ความจุอากาศของปอด    ความจุอากาศของปอดในแต่ละคนจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ
1.   เพศ   เพศชายจะมีความจุปอดมากกว่าเพศหญิง
2.  สภาพร่างกาย   นักกีฬามีความจุของปอดมากกว่าคนปกติ
3.  อายุ   ผู้สูงอายุจะมีความจุปอดลดลง
4. โรคที่เกิดกับปอด  โรคบางชนิด เช่นถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งจะทำให้มีความจุปอด ลดลง

ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราการหายใจเข้าและการหายใจออกที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด เช่น ในขณะ ที่เรากลั้นหายใจ ความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในเลือดจะสูงขึ้น        ซึ่งความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของร่างกายให้เกิดการหายใจขึ้นจนได้ ในขณะที่นอนหลับร่างกายจะถูกกระตุ้นน้อยลง จึงทำให้การหายใจเป็นไปอย่างช้าความเข้มข้น ของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในเลือดที่มีมากเกินไป เป็นอีกสาเหตุ หนึ่งที่ทำให้เกิดอาการหาว ซึ่งการหาวที่เกิดขึ้นนั้นก็เพื่อ เป็นการขับ เอาแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ ที่สะสมอยู่มากเกินไปออกจากร่างกาย
                                                                              การแลกเปลี่ยนแก๊สของปลา
                       ปลาหายใจด้วยเหงือก โดยการอ้าปากให้น้ำที่มีแก๊สออกซิเจนละลายอยู่เข้าทางปาก   แล้วผ่านออกทางเหงือก  แก๊สออกซิเจนจะแพร่เข้าสู่เส้นเลือดฝอยที่เหงือกแล้วหมุนเวียนไปตามระบบหมุนเวียนเลือดต่อไป
                                                                        
                                                                            การแลกเปลี่ยนแก๊สของแมลง

                       อากาศจะเข้าและออกจากร่างกายแมลงทางช่องหายใจซึ่งอยู่เป็นแถวบริเวณท้อง ช่องหายใจจะติดกับท่อลม โดยท่อลมน ี้จะแตกเป็นแขนงเล็ก ไปยังเนื้อเยื่อ ทั่วร่างกายของแมลงเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส   อากาศจากภายนอก จะเคลื่อนที่ไป ตามท่อลม ไปยังเซลล์ แก๊สออกซิเจน ในอากาศจะแพร่เข้าสู่เซลล์ ในขณะที่ ี่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จากภายในร่างกาย แพร่ออกสู่อากาศในท่อลมและเคลื่อนที่ย้อนกลับออกสู่ภายนอกร่างกาย
                                                                                   การแลกเปลี่ยนแก๊สของไฮดรา                                                                
ไฮดรา ไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการหายใจ แก๊สออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด ์ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์เข้าและ ออกจากเซลล์โดยการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์

ร่างกายของมนุษย์ตอน ปอด (Lung)

ร่างกายของมนุษย์ตอน ปอด (Lung)


     ปอดเป็น อวัยวะหนึ่งในร่างกายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลังใช้ใน การหายใจ หน้าที่หลักของปอดก็คือ การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบเลือดในร่างกาย และแลกเปลี่ยนเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบเลือดออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำงานโดยการประกอบกันขึ้นของเซลล์เป็นจำนวนล้านเซลล์ ซึ่งเซลล์ที่ว่านี้มีลักษณะเล็กและบางเรียงตัวประกอบกันเป็นถุงเหมือน ลูกโป่ง ซึ่งในถุงลูกโป่งนี้เองที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซต่าง ๆ เกิดขึ้น นอกจากการทำงานแลกเปลี่ยนก๊าซแล้วปอดยังทำหน้าที่อื่นๆอีก
     คำว่าปอดในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า lung ในทางการแพทย์สิ่งที่เกี่ยวกับปอดใช้คำว่า Pulmonary นำหน้าสิ่งนั้น ๆ ในมนุษย์นั้นมีปอดอยู่ในทรวงอกมีสองข้าง คือขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดที่เป็นถุงบาง ๆ 2 ชั้นนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดชั้นในและเยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะแนบติดไปกับผิวของปอด ส่วนเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกจะแนบติดไปกับช่องทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆนี้จะมีช่องว่าง เรียกว่าช่องเยื่อหุ้มปอดในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีของเหลวคอยหล่อลื่นอยู่ เรียกว่าของเหลวเยื่อหุ้มปอด ของเหลวนี้จะช่วยให้เยื่อหุ้มปอดแต่ละชั้นสไลด์ไปมาระหว่างกันได้โดยไม่ เสียดสีกัน และของเหลวเยื่อหุ้มปอดก็ยังช่วยยึดเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นไว้ไม่ให้แยกจาก กันโดยง่าย ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกันด้วย

 

วิธีการทำงาน
     การแลกเปลี่ยนก๊าซและการใช้ออกซิเจน เมื่อเราหายใจเข้าอากาศภายนอกเข้าสู่อวัยวะ ของระบบหายใจไปยังถุงลมในปอดที่ผนังของถุงลมมีหลอดเลือดฝอยติดอยู่ ดังนั้นเมื่ออากาศผ่านเข้ามาถึงถุงลมจึงมีโอกาสใกล้ชิดกับเม็ดเลือดแดงซึ่ง ไหลมาพร้อมกับเลือดภายในหลอดเลือดฝอยมากขึ้น จากนั้นออกชิเจนในอากาศซึ่งมีประมาณมากกว่าประมาณออกซิเจนในเลือด ก็จะซึมผ่านผนังถุงลมและผนังหลอดเลือดฝอยนี้เข้าสู่เม็ดเลือดแดงและพร้อมกัน นั้น คาร์บอนไดออกไชด์ที่เหลือจากกระบวนการเมทาบอลิซึมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย และส่งมากับเม็ดเลือดแดงก็จะออกจากเม็ดเลือดผ่านผนังออกมาสู่ถุงลม ปกติในอากาศมีออกชิเจนร้อยละ 20 แต่อากาศที่เราหายใจมีออกซิเจนร้อยละ 13

กำจัดของเสียทางปอด
     การกำจัดของเสียทางปอด กำจัดออกมาในรูปของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นผลที่ได้จากกระบวนการหายใจ โดยน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แพร่ออกจากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือดและเลือดจะทำ หน้าที่ลำเลียงไปยังปอดแล้วแพร่เข้าสู่ถุงลมที่ปอด หลังจากนั้นจึงเคลื่อนผ่านหลอดลมแล้วออกจากร่างกายทางจมูก ซึ่งเรียกว่ากระบวนการ Metabolism

หน้าที่ของปอด    * หน้าที่เกี่ยวกับการหายใจ แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
    * หน้าที่อื่น ๆ นอกจากการหายใจ
          -การควบคุมและขับสารต่าง ๆ เช่น ยา, แอลกอฮอล์ ออกจากระบบเลือด
          -การควบคุมสมดุลของความเป็นกรด-ด่างในเลือด ซึ่งมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ และอวัยวะต่าง ๆ
          -กรองลิ่มเลือดเล็ก ๆ ที่ตกตะกอนออกจากเส้นเลือดดำ
          -ปกป้องและรับแรงกระแทกที่จะทำอันตรายต่อหัวใจซึ่งอยู่ตรงกลางช่องทรวงอก


ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki  (ข้อมูล)
       :http://www.thaigoodview.com  (ภาพ)

การหายใจของคน

 การหายใจของคน


เมตาโบลิซึม (Metabolism) คือ กระบวนการที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาทางชีวเคมีทุกชนิดในร่างกาย อัตรา การหายใจจะมีความสัมพันธ์กับเมตาโบลิซึม กล่าวคือ สัตว์ที่มีอัตราการหายใจมากแสดงว่าต้องใช้พลังงานในการดำรงชีพมาก ดังนั้น อัตราเมตาโบลิซึมจะสูง

โครงสร้างสำหรับการแลกเปลี่ยนก๊าซของคน
ทางเดินอากาศของคน ประกอบด้วย
                                                                     
            1. รูจมูก (Nostril)
            2. ช่องจมูกหรือโพรงจมูก (nasal cavity)
            3. คอหอย (pharynx) กล่องเสียง (Larynx) อยุ่ทางส่วนหน้าของคอมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมที่ประกอบด้วยกระดูกอ่อนซึ่ง มีกล้ามเนื้อบังคับการเคลื่อนไหว ข้างในมีแถบเยื่อเมือกที่มีใยเอ็นยืดหยุ่นฝังอยู่เป็นแถบเรียกว่า สายเสียงหรือ โวคัลคอร์ด
(vocal cord)
            4. กล่องเสียง (Larynx)
            5. หลอดลม (trachea)
            6. ขั้วปอด (bronchus)
            7. แขนงขั้วปอดหรือหลอดลมฝอย (bronchiole)
            8. ถุงลม (alveolus หรือ air sac) มีเส้นเลือดฝอย (capillaries) ล้อมรอบ (ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน O2 และ CO2 อย่างมีประสิทธิภาพ

                                            การหายใจของคน                                                                                                                                                                                                                                                                                                     
         ตั้งแต่ปอดถึงรูจมูก บุด้วยเยื่อบุผิว ซึ่งมี Goblet cell แทรกอยู่ ทำหน้าที่สร้างและปล่อยน้ำเมือกออกมาหล่อลื่นทางเดินอากาศและปรับความชื้น ตลอดจนดักสิ่งแปลกปลอมที่หลุดเข้ามา แล้วให้ขนเล็กๆ (Cillia) ของเซลล์เยื่อบุผิวในหลอดลมและขั้วปอดพัดโบกไป
            จากคอหอยจะมีช่องเปิดของหลอดลม เรียก Glottis เข้าสู่กล่องเสียง ซึ่งเป็นตอนบนสุดของหลอดลม   เหนือ Glottis จะเป็นกระดูกอ่อนเรียกว่า ฝ่าปิดกล่องเสียง (Epiglottis) ทำหน้าที่ปิดหลอดลมขณะกลืนอาหาร (Larynx เป็นกระดูกอ่อน 3 ชิ้น ภายในมีสายเสียง; vocal cord เป็นเยื่อขึงอยู่ทำให้เกิดเสียงเวลาผ่าน)
         หลอดลม ขั้วปอด และแขนงขั้วปอด ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปเกือกม้า (Tracheal ring) ต่อๆกันป้องกันไม่ให้หลอดลมแฟบ   ปลายบนสุดของแขนงขั้วปอด จะพองเป็นถุงลม ซึ่งประกอบด้วย alveolus บาง และมีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยง

อวัยวะในระบบการหายใจ

ปอด
          ปอด (lung) เป็นอวัยวะสำคัญของระบบหายใจของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ปอดหายใจ ปอดประกอบด้วยถุงลม (alveolus) จำนวนมาก ปอดแยกออกเป็นก้อน (lobe) แต่ปอดของสัตว์บางชนิดก็ไม่แบ่งเป็นก้อนๆ เช่น วาฬ สัตว์กีบคี่ ปอดของมนุษย์แบ่งออกเป็นสองส่วนหรือสองข้าง โดยปอดข้างขวาจะมีจำนวนก้อนมากกว่าปอดข้างซ้าย ปอดข้างขวามีจำนวนก้อน 3 ก้อน ปอดข้างซ้ายมีจำนวนก้อน 2 ก้อน สัตว์บางชนิด เช่น ตุ่นปากเป็ด ปอดข้างขวาเพียงข้างเดียวที่จะมีก้อนของถุงลมเป็นก้อนๆ
ปอดของมนุษย์จะมีความจุหรือบรรจุอากาศได้ประมาณ 4-5 ลิตร อยู่ในช่องอก โดยช่องอกจะถูกแบ่งออกจากช่องท้องด้วยส่วนของกระบังลม (diaphragm) อยู่ในตำแหน่งซ้ายขวาของหัวใจ อยู่ในช่องว่างของตัวเองที่เรียกว่า ช่องปอด (pleural cavity)
ปอดอยู่ภายในส่วนที่ซี่โครงล้อมรอบไว้และจะติดอยู่กับโคนของขั้วปอด (bronchus) ซึ่งเป็นส่วนปลายสุดของหลอดลมที่แยกออกเป็น 2 หลอดด้านซ้ายและด้านขวา ขั้วปอดจะเหมือนกับหลอดลมทุกประการ แต่จากการแยกเป็นสองหลอดจึงทำให้มีขนาดเล็กลง มีความแข็งแรงน้อยกว่าหลอดลม ขั้วปอดของสัตว์บางอย่าง เช่น วัว ควาย หมู วาฬ จะมีขั้วปอด 3 ขั้ว งูมีขั้วปอด เพียงอันเดียว จากขั้วปอดจะแตกออกไปเป็นหลอดเล็กกระจายไป เรียกว่า bronchiole ไปเชื่อมต่อกับถุงลม นำอากาศเข้าและออกจากถุงลม
ถุงลม (alveolus)
          ถุงลมเป็นส่วนที่ต่อมาจาก alveolar duct ที่ต่อมาจาก bronchiole alveolar duct ส่วนปลายจะพองออกเป็นกระเปาะเล็กเรียกว่า air sac ซึ่ง air sac จะประกอบด้วยถุงเล็กๆ จำนวนมาก เรียกว่า ถุงลม (alveolus) จะเป็นถุงที่มีผนังบางๆ และมี endothelium ซึ่งมีลักษณะบางแต่เหนียวมากเป็นส่วนบุอยู่ด้านใน ส่วนทางด้านนอกของถุงลมจะมีเส้นเลือดฝอยหุ้มอยู่เป็นจำนวนมาก ถุงลมมีอยู่ประมาณ 700 ล้านถุง ซึ่งถ้านำมาแผ่ออกเป็นแผ่นอาจได้พื้นที่ถึง 90 ตารางเมตร
หลอดลม
          หลอดลม (trachea) เป็นท่อทางเดินของอากาศจากจมูกเข้าสู่รูจมูก (nostril) แล้วผ่านไปยังช่องจมูก (nasal cavity) ผ่านไปที่คอหอย (pharynx) แล้วเข้าสู่หลอดลม จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้วปอด (bronchus) เข้าสู่ bronchiole เข้าสู่ alveolar duct เข้าสู่ air sac และเข้าสู่ถุงลม (alveolus) เป็นจุดสุดท้าย
หลอดลมในส่วนต้นจะเป็นส่วนของกล่องเสียง (larynx) กล่องเสียงนี้จะประกอบด้วยกระดูกที่เป็นกระดูกอ่อน 3 ชนิดคือ arytenoid cartilage, thyroid cartilage (ลูกกระเดือก), cricoid cartilage ภายในของกล่องเสียงมีแผ่นเยื่อ (vocal cord) 2 คู่ ขึงอยู่ แผ่นเยื่อ vocal cord จะยืดหยุ่นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดเสียงได้ตามต้องการจะเปล่ง เสียง
หลอดลมจะมีกระดูกอ่อนบางๆ มาเป็นฝาปิดเพื่อป้องกันสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากอากาศลงไปเรียกว่า epiglottis
หลอดลมส่วนที่ถัดจากกล่องเสียงลงไปอีกจะเป็นหลอดยาวไปเชื่อมกับปอด หลอดลมจะถ่างเป็นช่องว่างอยู่ตลอดเวลานอกจาก นี้วงกระดูกอ่อนเป็นโครงอยู่ภายใน (tracheal ring) วงกระดูกด้านหลังของหลอดลมที่แนบอยู่กับหลอดอาหารจะขาดออกจากกันเป็นรูปวง กลมเส้นรอบวงขาด แต่จะมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมาจับปลายทั้งสองไว้ หลอดลมมีความยาวประมาณ นิ้ว
กลไกการหายใจเข้า-ออกของคน
            สมองที่ควบคุมการหายใจเข้าออกของคน คือสมองส่วน Medulla oblongata เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามเนื้อกระดูกซี่โครง
กลไกขณะหายใจเข้า (Inspiration) คือ กล้ามเนื้อซี่โครงแถบนอกจะหดตัว ส่วนกล้ามเนื้อซี่โครงแถบในจะคลายตัว กระดูกซี่โครงจะถูกยกตัวสูงขึ้น กระดูกหน้าอก (sternum) จะสูงขึ้นด้วย ทำให้ด้านหน้าและด้านข้างของช่องอกขยายขึ้น ความกดดันของช่องอกและ ปอดลดลง ปิดขยายตัวตาม กะบังลมแบนราบลง ท้องจะป่องออก
กลไกขณะหายใจออก (Expiration) คือ กล้ามเนื้อซี่โครงแถบในหดตัวและกล้ามเนื้อซี่โครงแถบนอกคลายตัว กระดูกซี่โครงและกระดูกหน้าอกลดระดับต่ำลง กะบังลม(diaphragm) คลายตัว ความกดดันของช่องอกและปอดสูงขึ้น ปอดแฟบลง อากาศถูกขับออกจากปอดท้องจะแฟบลง

การลำเลียงก๊าซออกซิเจน
           ออกซิเจนเข้าไปในปอดเข้าสู่เส้นเลือดฝอยที่อยู่รอบ ๆ ถุงลม รวมกับ Hemoglobin ในเซลล์เม็ดเลือดแดงกลายเป็น Oxyhemoglobin แล้วลำเลียงไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ จากนั้นออกซิเจนก็จะแพร่จากเส้นเลือดฝอยให้แก่เนื้อเยื่อ และถูกลำเลียงต่อไปเพื่อรับออกซิเจนที่ปอดใหม่
http://www.bs.ac.th/lab2000/web_bio/Image371.gif
การลำเลียงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
            การนำ CO2 ภายในเลือดออกจากร่างกายนั้นมี 2 ทางคือ
            1. CO2 บางส่วนจะรวมมากับน้ำเลือด (plasma)
            2. CO2 ที่เหลือจะถูกนำออกไปโดยรวมมากับ hemoglobin และ H2O ในเซลล์เม็ดเลือดแดง (ส่วนใหญ่จะรวมกัน H2O ในเซลล์เม็ดเลือดแดง เพราะมีเอนไซม์ carbonic anhydrase เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้เป็นไบคาร์บอเนตไอออน (HCO3-)
                                 H2O (ในเซลล์มีเม็ดเลือดแดง)http://www.bs.ac.th/lab2000/web_bio/Image372.gif
            ต่อมาไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน จะแพร่ออกจากเซลล์เม็ดเลือดแดงเข้าสู่น้ำเลือด HCO3- จะทำปฏิกิริยากับ H+ เกิดเป็นกรดคาร์บอนิค (H2CO2) และแตกตัวได้ CO2 + H2O ซึ่ง CO2 จะถูกถ่ายเทและถูกขับออกภายนอกร่างกายพร้อมกับลมหายใจออก
http://www.bs.ac.th/lab2000/web_bio/Image373.gif   (ขับออกนอกร่างกาย)